Betel herb research
การศึกษาสรรพคุณของใบพลูสมุนไพร
ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์และสารต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดใบพลูเพื่อพัฒนาเป็นเครื่องสำอาง Antimicrobial and Antioxidant Capacity of Leaf Extract of Piper betle Linn. for Development to Cosmeticsทิฐิมา ภาคภูมิ, กัลยาภรณ์ จันตรี และอรพิณ โกมุติบาล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต Thitima Parkpoom, Kanlayaporn Chuntree and Orapin Komutiban Faculty of Science and Technology, Suan Dusit University
ในการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคของสารสกัดใบพลูที่สกัดด้วยเอทานอลและโพรพิลีนไกลคอล โดยใช้จุลินทรีย์ 4 ชนิด ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ มอก. 152 - 2555 คือ Staphylococcus aurues, Pseudomonas aeruginosa, Escherichia coli และ Candida albicans พบว่าสารสกัดใบพลูสามารถต้านเชื้อได้ทุกตัว โดยสารสกัดใบพูลด้วยเอทานอลต้านเชื้อ S. aurues ได้ดีที่สุด โดยมีบริเวณยับยั้งเชื้อ 2.93 ± 0.28 เซนติเมตร ที่ความเข้มข้น 12.50 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร มีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย (MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MBC) เพียง 3.125 และ 6.25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ
ในการตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใส่สารสกัดใบพลู ซึ่งได้แก่ แชมพู และสบูเหลวนั้น ไม่พบแบคทีเรีย ยีสต์ และราที่เจริญเติบโตโดยใช้อากาศเกินกว่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (ไม่เกิน 1,000 CFU/มิลลิลิตร)
นอกจากนี้ในการทดสอบสารต้านอนุมูลอิสระรวมพบว่า สารสกัดใบพลูด้วยเอทานอล มีค่าสารต้านอนุมูลอิสระจากวิธี DPPH assay, ABTS assay และ FRAD assay เท่ากับ 3,653.01 ± 57.72, 17,261 ± 697.00 และ 3,616.99 ± 41.49 mg TAEC/gdw ตามลำดับ และมีปริมาณฟีนอลิกจากวิธี Folin - Ciocalteu ที่สูงถึง 538.33 ± 13.48 mg GAE/gdw ในขณะที่สารสกัดใบพลูด้วยโพรพิลีนไกลคอลก็ให้ผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจเช่นกัน
ดังนั้นสารสกัดใบพลูจึงมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่นอกจากจะสามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ที่สำคัญได้แล้ว ยังสามารถยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวการของริ้วรอยได้อีกด้วย
From the test of antimicrobial capacity of the leaf extract of Piper betle Linn., extracted from ethanol and propylene glycol, using four pathogens according to the Thai Industrial Standards 152-2555: Staphylococcus aurues, Pseudomonas aeruginosa, Escherichia coli and Candida albicans, it was found that the extract could inhibit all bacterial growth. The extract from ethanol inhibited S. aurues with the best result having an inhibition zone of 2.93 ± 0.28 cm at the concentration of 12.50 mg/ml. It had minimum inhibitory concentration (MIC) and minimum bactericidal concentration (MBC) of 3.125 and 6.25 mg/ml, respectively. From the test of microbiological contamination of shampoo and liquid soap with the extract, there were no excess of aerobic bacteria, yeasts, or molds according to the cosmetic standard (not more than 1,000 CFU/ml).
Moreover, from DPPH assay, ABTS assay, and FRAD assay, the extract had free radical scavenging activities of 3,653.01 ± 57.72, 17,261 ± 697.00, and 3,616.99± 41.49 mg TAEC/gdw, respectively. The total phenolic compound with Folin-Ciocalteu reagent was as high as 538.33 ±13.48 mg GAE/gdw. Meanwhile, the extract from propylene glycol also provided satisfactory results.
So, the leaf extract of Piper betle Linn. is very promising for cosmetic product development to not only inhibit relevant bacteria, but also scavenge free radicals
which cause wrinkles.
====================================================================================================
ประสิทธิภาพของสารสกัดพลูและน้ํำมันพลูในการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคผิวหนังบางชนิดAntimicrobial Activity of Betel Crude extract and Betel Oil on Some Microbes Causing Skin Disease
อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ, อุไรวรรณ ดิลกคุณานันท์, ณิชากร เจริญกุล, ประภัสสร รักถาวร และสิริพร ศิริวรรณ
Udomlak Sukatta1, Uraiwan Dilokkunanant, Nichakorn Charoenkul, Prapassorn Rugthaworn, and Siriporn Siriwan
ฝ่ายเทคโนโลยีพืชสมุนไพรเพื่อการอุตสาหกรรม สถาบันผลิตผลเกษตรฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
Herb Technology Division, KAPI, Kasetsart University, Bangkok 10900, Thailand
การสกัดสารจากใบพลูแห้งด้วยเอทานอล สารสกัดหยาบที่ได้มีลักษณะเป็นสารเหนียวสีเขียวปนน้ําตาลเข้ม มีปริมาณสารสกัด 7.45 % ในขณะที่น้ํามันพลูที่กลั่นด้วยเครื่องกลั่นชนิด water-steam distillation มีสีเหลืองใส มีปริมาณน้ํามัน 0.47% ในการทดสอบความไวของเชื้อแบคทีเรีย 2 ชนิด คือ Staphylococcus aureus และ S.
epidermidis และเชื้อรา 2 ชนิด คือ Trichophyton mentagrophytes และ T. rubrum ในการต้านสารสกัดพลูและน้ํามันพลู โดยวัดค่า ความเข้มข้นต่ําสุดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ (MIC) ค่าความเข้มข้นต่ําสุดในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MBC) และเชื้อรา (MFC) ด้วยวิธี broth dilution method พบว่าสารสกัดพลูมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญและฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งสองชนิดได้ดีกว่าน้ํามันพลู แต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าสารมาตรฐาน Erythromycin. และ เชื้อ S. epidermidis มีความไวต่อการออกฤทธิ์ของสารสกัดทั้งสองมากกว่าเชื้อ S. aureus ในการทดสอบกับเชื้อรา พบว่า เชื้อ T. mentagrophytes มีความไวต่อการออกฤทธิ์ของสารสกัดทั้งสองมากกว่าเชื้อ T. rubrum สารสกัดพลูและน้ํามันพลูจะให้ผลการทดสอบกับเชื้อ T. mentagrophytes ได้เช่นเดียวกับเชื้อแบคทีเรีย และให้ผลในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ T. rubrum แต่ไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ในความเข้มข้นที่ทําการทดสอบ นอกจากนี้ สารสกัดพลูและน้ํามันพลูมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ T. rubrum ได้ดีกว่าสารมาตรฐาน amphotericin B.
In solvent extraction of betel vine leaves (Piper betle Linn.) with ethanol, a sticky dark brown-green color crude extract with 7.45% was resulted. While betel oil getting from water-distillation method demonstrated clear yellow color oil with 0.47%.
In susceptibility tests of 2 bacteria; Staphylococcus aureus, S epidermis and 2 fungi; Trichophyton mentagrophytes, T. rubrum, to betel crude extract and betel oil, a broth dilution method was used and minimum inhibition oncentration (MIC), minimum bacterial concentration (MBC) including minimum fungal concentration (MFC) were measured. The results showed that betel crude extract was higher effective in inhibiting and killing the tested bacteria than betel oil but lower than erythromycin. However, S. epidermis was more sensitive to the extract and the oil than S. aureus.
In fungal test, T. mentagrophytes was more sensitive to the extract and the oil than T. rubrum , while betel crude extract and betel oil showed the same results as the bacteria to T. mentagrophytes, they could only inhibit growth of T. rubrum but could not kill the fungus at the tested concentration. Moreover, both the extract and the oil showed better inhibiting activity than amphotericin B.
=========================================================================================================
การพัฒนาพลูครีมเพือใช้ในการรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งติดต่อสูกันระหว่างคนและสัตว์
An in vitro evaluation of Piper betle skin cream as an anti-zoonotic dermatophytes
การศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาตํารับยาสมุนไพรในครั้งนี้เป็นการศึกษาต่อยอดจากการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดพืชสมุนไพร 3 ชนิด คือพลู ข่าและหอมแดง ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรากลุ่ม dermatophytes ที่เป็นสาเหตุสําคัญของโรคกลากซึ่งสามารถติดต่อสู่กันระหว่างคนและสัตว์ จากการที่สารสกัดจากใบพลูมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อราได้ดีกว่าข่าและหอมแดง ทั้งยังไม่พบฤทธิ์ก่อความระคายเคืองต่อผิวหนังส่วนหน้าท้องของสุนัข จึงทําการตั้งตํารับพลูครีมที่ความเข้มข้น 10% ทําการทดสอบและควบคุมคุณภาพทางกายภาพและทางจุลชีววิทยา พร้อมทั้งทําการทดสอบประสิทธิภาพในการต้านเชื้อราของพลูครีม 10% เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน ketoconazole cream 20% ด้วยวิธี disc diffusion method
ผลการศึกษาพบว่าพลูครีมที่ได้จากการตั้งตํารับมีเนื้อครีมสีเขียวเข้ม มีกลิ่นพลูชัดเจนและมีค่าความเป็นกรดเล็กน้อย และเมื่อผ่านขบวนการ freeze thaw cycling เนื้อครีมมีสีคล้ํามากขึ้นเล็กน้อย ความหนืดและค่า pH เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ
จากการควบคุมคุณสมบัติทางจุลชีววิทยาไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา เมื่อนําพลูครีมมาทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา 3 ชนิดคือ M. canis, M. gypseum และ T. mentagrophyte พบว่าแผ่นยาของพลูครีมที่มีพลูสกัดปริมาณ 80 mg ให้ค่า inhibition zone ใกล้เคียงกับแผ่นยาที่มี ketoconazole 80 mg เมื่อทําการอ่านผลที่ 96 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามเป็นทีน่าสังเกตว่าประสิทธิภาพของพลูครีมในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราจะเริ่มลดลงภายหลังจาก 96 ชั่วโมงและหมดไปในวันที่ 7 ของการทดสอบ ในขณะที่ประสิทธิภาพของ ketoconazole cream นั้นก็ลดลงเช่นกันแต่ยังคงประสิทธิภาพได้นานกว่า 7 วัน โดยเฉพาะต่อเชื้อ M. canis และ T. mentagrophyte
จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าพลูครีมที่ได้พัฒนาตํารับขึ้นมีประสิทธิภาพในการต้านการเจริญของเชื้อราก่อโรคกลากได้ดีเมื่อทําการทดสอบในหลอดทดลอง จึงเป็นสิ่งที่นับว่าน่าสนใจอย่างยิ่งในการทดสอบประสิทธิภาพของพลูครีมในทางคลินิกต่อไป พร้อมทั้งพัฒนาตํารับของพลูครีมให้สามารถออกฤทธิ์
ได้ยาวนานขึ้น
Our previous studies suggested the ethanolic extract of P. betle leaves exhibited antifungal activities with more potency than the extracts of A. galanga and A. ascalonicum. In the present study, the 10% P. betle skin cream (Plu cream) was formulated, subjected to physical and microbiological control, and tested for the effect against zoonotic dermatophytes in vitro. The Plu cream, slightly acidic, was dark green in colour with a typical smell of P. betle leaves. After ten freeze-thaw cycles, the cream was darkening and markedly thickening. Its pH also increased significantly. No bacterial and fungal contamination was detected from the Plu cream samples. The disc diffusion assay revealed comparable zones of inhibition between 80 mg Plu cream disc and 80 mg ketoconazole cream disc against M. canis, M. gypseum, and T. mentagrophyte at 96 h after incubation.
Thereafter, the inhibitory effect of Plu cream markedly decreased and completely loss by day 7. Meanwhile, the effect of ketoconazole cream reduced gradually and was still effective against M. canis and T. mentagrophyte after 7 days of incubation. In summary it was suggested that the Plu cream has potential therapeutic value for treatment of dermatophytosis. However, clinical testing as well as improving the Plu cream formulation with greater efficacy and duration of action would be of interest and await further investigation.
====================================================================================